เมนู

ตรัสว่า พระโยคาวจรพึงละเสียด้วยการเว้น กล่าวคือสีลสังวรนี้.

(6) อาสวะที่ละได้เพราะการบรรเทา


[17] ข้อว่า ปฏิสงฺขา โยนิโส อุปฺปนฺนํ กามวิตกฺกํ นาธิวาเสติ
ความว่า พระโยคาวจรพิจารณาเห็นโทษในกามวิตกโดยแยบคาย โดย
นัยเป็นต้นว่า วิตกนี้เป็นอกุศลแม้เพราะเหตุนี้ วิตกนี้มีโทษแม้เพราะเหตุ
นี้ และวิตกนั้นแลย่อมเป็นไปแม้เพื่อความเบียดเบียนตนเอง ดังนี้แล้ว
ยับยั้งไว้ไม่ได้ซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้น ได้แก่บังเกิดขึ้นแล้วในอารมณ์นั้น ๆ
อธิบายว่า ยกจิตขึ้นเสียแล้วให้กามวิตกหยุดอยู่ไม่ได้ หรือไม่ให้กามวิตก
หยุดอยู่ภายในได้.
ถามว่า ภิกษุเมื่อยับยังไว้ไม่ได้จะทำอย่างไร ?
ตอบว่า ย่อมละ. คือทิ้งวิตกนั้นเสีย.
ถามว่า ภิกษุจะละทิ้งวิตกเหมือนคนเอาตะกร้าตักหยากเยื่อทิ้งหรือ ?
ตอบว่า หามิได้.
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุย่อมบรรเทา คือถอน ได้แก่แทง หมายความว่า
นำออกไปซึ่งกามวิตกนั้น.
ถามว่า แทงเหมือนกับบุคคลเอาปฏักแทงโคพลิพัทหรือ ?
ตอบว่า หาใช่เช่นนั้นไม่. โดยที่แท้แล้วจะทำกามวิตกนั้นให้ย่อยยับ
ไป คือทำกามวิตกนั้นให้ปราศจากไป ได้แก่ทำกามวิตกนั้น (ให้เป็น )
โดยที่มันไม่เหลืออยู่แม้ในภายในของภิกษุนั้น โดยที่สุดแม้เพียงในภวังคจิต
(ก็ไม่มี).
ถามว่า ภิกษุจะทำวิตกนั้น ให้เป็นอย่างนั้น ได้อย่างไร ?

ตอบว่า ย่อมยังกามวิตกนั้นให้ถึงความไม่มี คือย่อมให้ถึงความ
ไม่มีทีละน้อย ๆ มีอธิบายว่า ย่อมทำโดยประการที่วิตกเป็นอันเธอข่มไว้
ได้อย่างดีด้วยวิกขัมภนปหาน. ในพยาบาทวิตกและวิหิงสาวิตกก็นัยนี้
เช่นกัน.
ก็ในวิภังค์ท่านกล่าวไว้ว่า ในบทว่า กามวิตกฺโก นี้ วิตกที่ปฏิ-
สังยุตด้วยกาม คือความดำริผิด ชื่อกามวิตก. ในที่อื่น ๆ ก็นัยนี้.
บทว่า อุปฺปนฺนุปฺปนฺเน ความว่า เกิดแล้ว คืออุบัติแล้ว อธิบาย
ว่า พอแต่สักว่าเกิดขึ้นแล้วเท่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุบรรเทาอกุศล
วิตกทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นคราวเดียวได้แล้ว ในวาระที่ 2 ถึงเธอจะไม่ได้เพ่ง
เล็ง เธอก็ย่อมบรรเทาอกุศลวิตกทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ แม้ 7 ครั้งได้
ทีเดียว.
บทว่า ปาปเก อกุสเล ความว่า ที่ชื่อว่าชั่วช้า เพราะอรรถว่า
ลามก ที่ชื่อว่าอกุศล เพราะความเป็นกรรมที่ทำด้วยความไม่ฉลาด.
บทว่า ธมฺเม ได้แก่กามวิตกเป็นต้นเหล่านั้นนั่นเอง อีกอย่างหนึ่ง
ได้แก่มหาวิตก 9 อย่างแม้ทั้งหมด. บรรดามหาวิตก 9 อย่างเหล่านั้น
3 อย่างกล่าวไว้แล้ว. วิตกที่เหลืออีก 6 เหล่านี้ ได้แก่วิตกถึงญาติ
วิตกถึงชนบท วิตกถึงเทวดา วิตกที่ประกอบด้วยความเป็นผู้เอ็นดูต่อผู้
อื่น วิตกที่ปฏิสังยุตด้วยลาภสักการะและเกียรติยศ และวิตกที่ปริสังยุต
ด้วยสิ่งอื่น.
บทว่า ยญฺหิสฺส ความว่า อาสวะและความเร่าร้อนเพราะความ
คับแค้นใจ พึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้บรรเทาไม่ได้ซึ่งวิตกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ในบรรดาวิตกเหล่านั้น. คำที่เหลื่อมีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล.

ก็ในที่นี้ กามาสวะนั้นแลคือกามวิตก อาสวะซึ่งแปลกออกไปจาก
กามวิตกนั้น ชื่อว่าภวาสวะ. อาสวะที่สันปยุตด้วยภวาสวะนั้นแล ชื่อทิฏฐา-
สวะ. ความไม่รู้ในวิตกทั้งมวล ชื่ออวิชชาสวะ. พึงทราบแม้การบังเกิดขึ้น
แห่งอาสวะเหล่านี้ ด้วยประการดังพรรณนามาน . ข้อว่า อิเม วุจฺจนฺติ
ฯลฯ วิโนทนา ปหาตพฺพา
ความว่า อาสวะ ประการดังกล่าวแล้วด้วย
อำนาจกามวิตกเป็นต้นเหล่านี้ พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ภิกษุจะพึงละได้ด้วยการบรรเทา กล่าวคือวิริยสังวรซึ่งสหรคตด้วยการ
พิจารณาโทษในวิตกนั้น ๆ นี้.

( 7 ) อาสวะที่ละได้เพราะการอบรม


[18] ข้อว่า ปฏิสงฺขา โยนิโส สติสนฺโพชฺฌงฺคํ ภาเวติ
ความว่า ภิกษุพิจารณาเห็นโทษแห่งการไม่อบรมและอานิสงส์แห่งการ
อบรมโดยอุบายคือโดยถูกทางแล้วควรเจริญสติสัมโพชฌงค์. ในบททั้งปวง
ก็นัยนี้. ก็เนอธิการแห่งโพชฌงค์นี้ โพชฌงค์ที่เป็นโลกุตตระเท่านั้นที่
เกิดขึ้น เพราะได้บรรลุมรรค 3 ข้างต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประ-
สงค์เอาแล้วในที่นี้แม้โดยแท้ ถึงอย่างนั้น เพื่อความไม่หลงงมงายใน
โพชฌงค์ทั้งหลายของเหล่าภิกษุผู้ทำความเพียรเป็นครั้งแรก ข้าพเจ้าจัก
พรรณนาโดยนัยแห่งโพชฌงค์เหล่านั้นโดยปะปนกันไปทั้งฝ่ายโลกิยะและ
ฝ่ายโลกุตตระ. แต่ในที่นี้ข้าพเจ้าจะละนัยที่เป็นโลกิยะเสีย แล้วถือเอา
เฉพาะนัยฝ่ายโลกุตตระเท่านั้น. ในอธิการแห่งโพชฌงค์นั้น บัณฑิตพึง
ทราบวินิจฉัยบทข้างต้นทั้ง 7 ซึ่งท่านกล่าวไว้โดยนัยเป็นต้นว่า สติสมฺ-
โพชฺฌงฺคํ
ก่อน โดยเนื้อความโดยลักษณะเป็นต้น โดยลำดับและโดยไม่หย่อน